ธรรมาภิบาลข้ามพรมแดน โขง เขื่อน ไฟฟ้า | ฟังเสียงประเทศไทย | 14 ธ.ค. 67



“แม่น้ำโขง” แม่น้ำสายสำคัญอันดับ 12 ของโลก และเป็นแม่น้ำนานาชาติที่ยาวที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีต้นกำเนิดจากภูเขาหิมะบนเทือกเขาหิมาลัย ไหลผ่าน 6 ประเทศด้วยกัน จีน เมียนมาร์ ไทย สปป.ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ความยาวรวมกว่า 4,900 กิโลเมตร

น้ำโขงเป็นบ้านของปลา 1,100 ชนิด อุดมไปด้วยความหลายทางชีวภาพ ทั้งสัตว์น้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกนานาชนิด และมีพันธุ์พืชกว่า 20,000 ชนิดพันธุ์ อีกทั้งยังมีดินที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุ สร้างความสมบูรณ์ตลอดสองฝั่งลำน้ำ เกื้อหนุนผู้คนกว่า 300 ล้านคน ให้ได้พึ่งพาอาศัยสายน้ำในการหล่อเลี้ยงชีวิต

แต่วันนี้ทุกอย่างไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เมื่อสภาพภูมิอากาศเกิดการเปลี่ยนแปลง การดำเนินชีวิตของผู้คนปรับเปลี่ยนตามวิถีการพัฒนา อีกทั้งยังมีการก่อสร้างโครงการเขื่อนขนาดใหญ่กั้นขวางลำน้ำเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า การระเบิดแก่งแม่น้ำโขง การทำที่กั้นตลิ่งริมฝั่ง เหล่านี้ทำให้แม่น้ำโขงเปลี่ยนไป

ท่ามกลางคำถามถึงธรรมาภิบาลในการลงทุนข้ามพรมแดน ทั้งคนในพื้นที่ นักวิชาการ ภาคประชาสังคม และกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ต่างลุกขึ้นมาแสดงความห่วงกังวลถึงผลกระทบที่อาจจะทำให้ระบบนิเวศของแม่น้ำโขงพังทลายลงไป รายการฟังเสียงประเทศไทย จึงอยากชวนทุกท่านมาช่วยกันคิด ร่วมกันมอง หาทางออกไปพร้อม ๆ กัน กับแขกรับเชิญทั้ง 6 ท่าน
– ปิยะนันท์ จิตแจ้ง เครือข่ายกลุ่มรักษ์เชียงของ
– ปรีดา คงแป้น กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
– รศ. ดร.ชาลี เจริญลาภนพรัตน์ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร (SIIT) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ SDG Move
– ดร.พูนศักดิ์ จันทร์จำปี ประธานคณะกรรมาธิการที่ดินทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร
– รศ. ดร.ชัยยุทธ สุขศรี คณะกรรมการแม่นำโขงแห่งชาติไทย (TNMC )
– วิฑูรย์ เพิ่มพงศาเจริญ เครือข่ายพลังงานเพื่อนิเวศในลุ่มน้ำโขง (MEE Net)

ติดตามในรายการ #ฟังเสียงประเทศไทย วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม 2567 เวลา 17.30-18.00 น. ทางไทยพีบีเอส #ThaiPBS #ช่องหมายเลข3
———————————-
👉 ติดตาม ข่าว และรายการดี ๆ ย้อนหลัง ของ #ThaiPBS ได้ที่
https://www.thaipbs.or.th และ https://www.youtube.com/ThaiPBS